โควิดสายพันธุ์อินเดีย

“โควิดสายพันธุ์อินเดีย” ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.617.2 หรือที่เรารู้จักในชื่อ โควิดสายพันธุ์เดลต้า (Delta) พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศอินเดีย ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายประเทศในเวลานี้ทั้งประเทศอังกฤษ จีน สหรัฐอเมริกา เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยพบการระบาดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจากแคมป์คนงานหลักสี่และเป็นที่น่าจับตามองในประเทศไทย ณ เวลานี้ นอกจากนี้ยังมีการพบการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้า พลัส (Delta Plus) ที่มีการกลายพันธุ์บริเวณหนาม K417N ส่งผลให้ติดเชื้อง่าย และหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดี

 โควิดสายพันธุ์เดลต้าติดง่ายจริงหรือไม่

โควิดสายพันธุ์เดลต้านั้นจะแพร่กระจายได้รวดเร็ว  อีกทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังเปิดเผยว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถลอยตัวอยู่ในอากาศ ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายได้แม้ไม่ต้องสัมผัสผู้ป่วย หรืออยู่ใกล้ผู้ป่วยตลอดเวลา

โควิดสายพันธุ์อินเดีย

ความน่ากลัวของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (โควิดสายพันธุ์อินเดีย)

ซึ่งการแพร่กระจายเชื้อสายพันธุ์เดลตาสามารถแพร่กระจายได้ง่าย ในช่วงเวลาสั้น จากข้อมูลพบว่าใช้เวลาแค่ 5-10 วินาที หากอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือพบเจอผู้ติดเชื้อ เชื้อก็สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้ และยังสามารถลอยอยู่ในอากาศได้ถึง 16 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นหากเราเข้าไปอยู่ในห้องที่ไม่มีการถ่ายเทของอากาศ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์มาใช้นี้ ก็ยังมีโอกาสที่จะติดโควิดสายพันธุ์นี้ได้  นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายได้ในทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะเด็กเล็ก และจากความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้ง่าย ทำให้มีโอกาสเพิ่มยอดผู้ติดเชื้อ 10 เท่าในทุก ๆ 11 วัน เพราะฉะนั้นต้องพึ่งพาบริการตรวจโควิด ราคาจากทางผู้เกี่ยวข้อง

สถานการณ์โควิดสายพันธุ์เดลต้าในไทย

เนื่องจากเหตุการณ์การระบาดจากแคมป์คนงานหลักสี่ และด้วยความสามารถในการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโควิดสายพันธุ์เดลต้าจึงทำให้เป็นที่จับตามองและเป็นที่เฝ้าระวังในระดับสูง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าในอีก 2-3 เดือนอาจมีแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากกว่าสายพันธุ์อังกฤษที่มีมากที่สุดในไทย ณ ขณะนี้

ซึ่งเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย หรือ สายพันธุ์เดลต้า พบความสามารถในการแพร่กระจายของเชื้อได้อย่างรวดเร็ว พบแพร่ลงหลอดลม-ถุงลม ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์เดิมที่แพร่กระจายในโพรงจมูก และลำคอ และหลีกหนีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้และพบการกลายพันธุ์ 13 ตำแหน่ง แต่มีตำแหน่งที่น่ากังวล 3 ตำแหน่ง คือ

  • E484Q : จับเซลล์มนุษย์ได้ง่ายขึ้น และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น
  • L452R : แพร่เชื้อง่ายขึ้น 20% ต้านทานวัคซีนได้เล็กน้อย
  • P681R : เพิ่มโอกาสการติดเชื้อในระดับเซลล์

ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ ไม่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสสายพันธุ์อินเดียได้ และต้องติดตามกลับว่า ทำให้เกิดการอักเสบที่อันตรายต่อเนื้อเยื่อ และทุกระบบของร่างกายมากขึ้น แต่จากข้อมูลพบว่าความรุนแรงของโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียน้อยกว่าสายพันธุ์อังกฤษ

ข้อเด่นของสายพันธุ์เดลตา

เดลตา เป็นเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในระยะหลังนี้ เพราะพบว่าเป็นภัยคุกคามต่อสาธารณสุขมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ

ประการแรก เดลตามีอัตราแพร่เชื้อสูงกว่าสายพันธุ์อัลฟา ราว 60% แม้ว่าอัลฟามีอัตราแพร่เชื้อสูงกว่าเชื้อโรคโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมอยู่แล้วถึง 50%

นอกจากนี้ สายพันธุ์เดลตายังทำให้เกิดการระบาดระลอกที่สองในอินเดียเมื่อเดือน เม.ย. และ พ.ค. อีกทั้งยังกลายเป็นเชื้อสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดในสหราชอาณาจักร และยังพบว่าเชื้อสายพันธุ์นี้ได้แพร่เข้าไปในกว่า 90 ประเทศทั่วโลกแล้วทั้งในสหรัฐฯ จีน แอฟริกา แถบสแกนดิเนเวีย และภูมิภาคในมหาสมุทรแปซิฟิก

วัคซีนที่สามารถป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้

เนื่องจากการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์เดลต้า พลัสเพิ่มคุณสมบัติในการหลบภูมิคุ้มกันได้ดี และจากผลการทดลองยืนยันว่าวัคซีนประเภท mRNA (ไฟเซอร์, โมเดอร์นา) และประเภทวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะมีประสิทธิภาพในการรับมือได้ดีกว่าวัคซีนชนิดอื่น

  • วัคซีนโมเดอร์นา : มีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้หลังจากได้รับครบ 2 โดส แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าป้องกันได้มากแค่ไหน
  • วัคซีนไฟเซอร์ : มีการคาดการณ์ว่าสามารถรับมือกับโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ใกล้เคียงกับวัคซีนโมเดอร์นาเนื่องจากเป็นวัคซีนประเภท mRNA เหมือนกัน
  • วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า : จากข้อมูลของสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (PHE) หลังได้รับครบ 2 เข็มสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ประมาณ 64 %
  • วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน : จากผลการทดลองของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) เองพบว่าสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ประมาณ 8 เดือน แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าป้องกันได้มากแค่ไหน