กระเพาะปัสสาวะอักเสบรักษา

รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่กำลังประสบกับโรคนี้อยู่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบรักษา ที่เกิดจากการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ร่างกายได้รับความผิดปกติ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้ ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะของผู้หญิงนั้นมีขนาดสั้นกว่าของผู้ชาย  และอยู่ใกล้กับทวารหนัก ซึ่งเป็นจุดที่มีแหล่งของเชื้อโรคจึงทำให้เชื้อโรคดังกล่าวเข้าสู่ทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ  เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล (Escherichia coli: E. coli) ซึ่งเชื้อเหล่านี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้หลายทาง เช่น การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ การเช็ดก้นที่ผิดวิธีโดยเช็ดในลักษณะจากด้านหลังมาทางด้านหน้า จึงทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือ การสวนปัสสาวะ ซึ่งกลไกที่ทำให้เกิดโรงดังกล่าว ยังไม่มีความชัดเจนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร  อาจเกิดจากหลายสาเหตุ หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย แต่เป็นสาเหตุที่มักเกิดขึ้นได้น้อยมาก เช่น การใช้ยา หรือผลิตภัณฑ์สำหรับจุดซ่อนเร้น การฉายรังสี บริเวณกล้ามเนื้อเชิงกราน อาจทำให้กระเพาะทางเดินปัสสาวะอักเสบเรื้อรังก็เป็นได้

การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ในทางการสอบสวนของโรค แพทย์จะทำการซักประวัติเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ว่าเป็นอย่างไร โดยดูประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย และการตรวจปัสสาวะ ที่จะสามารถวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคได้ ซึ่งผลการตรวจอาจจะพบสิ่งแปลกปลอมปนอยู่ในปัสสาวะ เช่นเชื้อแบคทีเรีย เลือด หรือเม็ดเลือดขาว เพื่อสามารถหาสาเหตุของการติดเชื้อได้ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง และเรื้อรังมานาน แพทย์จะได้ทำการตรวจเพิ่มเพื่อหาสาเหตุด้วยวิธีอื่น  การส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ หรือการถ่ายภาพรังสี เพื่อทำการวินิจฉัยความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ ที่อาจมีความรุนแรงมากกว่าการเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง เมื่อพบว่ามีความผิดปกติของโครงสร้างเนื้อเยื่อ หรือตรวจพบก้อนเนื้อ

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถรักษาอาการได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น ยาไตรเมโทพริมหรือยาไนโตรฟูแรนโทอิน หรือสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน แพทย์อาจให้ยาเพื่อบรรเทาอาการด้วยยาทาช่องคลอด เป็นฮอร์โมนทดแทน ที่อาจเกิดการติดเชื้อซ้ำได้ หรือแพทย์อาจตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อดูอาการผิดปกติเพิ่มเติมและหาสาเหตุของการเกิดโรคอื่น ๆ ได้ และต้องทานยาปฏิชีวนะโดยใช้เวลานานมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย อาจขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยและชนิดของแบคทีเรียที่พบในปัสสาวะ แต่หากกรณีที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะเกิดจากสาเหตุอื่น  แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ โดยดูสาเหตุของการเกิดโรคเป็นหลัก และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะไปกระตุ้นทำให้เกิดโรคได้

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ อาจทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง และเป็นสาเหตุที่อาจลามไปถึงกรวยไตอักเสบตามมาได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่สร้างความเสียหายให้กับการทำงานของไตได้

การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น สามารถป้องกันได้เฉพาะบางจุดเท่านั้น เพราะสาเหตุของการเกิดโรคส่วนใหญ่มีสาเหตุที่แตกต่างกัน แต่สามารถลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ เช่น การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ให้ความสำคัญในเรื่องของความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ และบริเวณทวารหนัก และไม่ควรกลั้นปัสสาวะไว้นานจนเกินไป อาจทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะได้รับความเสียหายได้

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายกับบุคคลในบางกลุ่ม ที่มักมีสภาวะที่ทำให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น ดังนี้

  1. ผู้หญิงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้มากกว่าผู้ชาย สาเหตุเกิดจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงนั้นสั้นกว่าผู้ชาย และตำแหน่งที่เปิดจะอยู่ใกล้ทวารหนักมากกว่าผู้ช่วย ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย จึงทำให้เกิดความเสี่ยงในการรับเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ง่ายมากกว่าผู้ชาย ซึ่งมักพบในผู้หญิงในช่วงอายุ 24 ปี อาจเป็นโรคนี้ได้ 1 ใน 3 คน
  2. ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ที่มักพบป่วยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาจเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่ทำให้เกิดโรคได้
  3. ผู้หญิงที่ใช้การคุมกำเนิด ด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิในช่องคลอด จึงอาจเป็นสาเหตุในการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
  4. ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน เนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะเพศและท่อปัสสาวะ เกิดการเปลี่ยนแปลง หลังหมดประจำเดือน อาจทำให้มีการป้องกันเชื้อโรคได้น้อยลงกว่าที่เป็น
  5. ผู้ที่คาสายสวนปัสสาวะ เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียและทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น
  6. เกิดจากการมีโรคประจำตัวหรือการทำงานของไตมีความผิดปกติ ที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
  7. ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้

การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การป้องกันการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น สามารถป้องกันการเกิดโรคได้เฉพาะบางสาเหตุเท่านั้น แต่ก็ถือว่าเป็นการลดความเสี่ยงด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการขับถ่าย หรือการรักษาความสะอาดของร่างกายได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมี กับจุดซ่อนเร้นหรืออวัยวะเพศ เช่น แป้ง สบู่ หรือผลิตภัณฑ์อาบน้ำ ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม ซึ่งสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สูตรอ่อนโยน และปราศจากน้ำหอมจึงจะดีที่สุด
  2. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เพราะอาจเป็นสาเหตุในการเกิดโรคปัสสาวะอักเสบได้
  3. ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักอย่างถูกวิธี เป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้
  4. ปัสสาวะหลังจากมีเพศสัมพันธ์ควรดื่มน้ำเยอะ ๆ เพราะสามารถเร่งการปัสสาวะได้ดี เพื่อเป็นการกำจัดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ดี
  5. ควรอาบน้ำจากฝักบัวแทนการอาบน้ำโดยใช้น้ำในอ่าง เพราะอาจมีเชื้อแบคทีเรีย และมีความเสี่ยงในการเกิดโรคได้