อาการแผลในกระเพาะอาหาร

อาการแผลในกระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะทางเดินอาหารที่เกี่ยวกับกระบวนการที่ผ่านการที่ผ่านการเคียวผ่านช่องปากมาแล้ว เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งมีหน้าที่ในการเปลี่ยนอาหารที่เราบริโภคเข้าไป ให้กลายเป็นพลังงาน ที่ร่างกายต้องนำไปใช้ รวมทั้งยังมีกระบวนการที่จะต้องขับถ่ายของเสียออกนอกร่างกายอีกด้วย ซึ่งกระเพาะอาหารมักจะเกิดอาการแผลในกระเพาะอาหารได้ หากเราไม่ได้รับการดูแลและเอาใจใส่ในการรับประทานอาหารได้เป็นอย่างดี  อาจส่งผลเสียต่อกระเพาะอาหารของเราได้ ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหาร หรือการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคแผลในเย็บกระเพาะอาหารได้ เชื้อว่าไม่มีใครที่อยากจะเป็นโรคนี้อย่างแน่นอน เพราะใช้เวลาในการรักษานาน เรื้อรังอีกด้วย

สาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร

สาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร มีชั้นเมือก (Mucous) เคลือบอยู่ หากมีน้ำเมือกและกรดปริมาณที่น้อยหรือไม่สมดุลกัน อาจทำให้เกิดแผลขึ้นที่เยื่อบุของกระเพาะอาหาร  หลอดอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นได้ หรือโรคแผลในกระเพาะอาหารอาจเกิดจากหลายสาเหตุดังนี้

  1. เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร อาศัยอยู่ในเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเสียจากกรดในกระเพาะอาหารได้ สามารถติดเชื้อได้กับทุกเพศทุกวัย แต่สาเหตุที่แน่ชัดยังระบุไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งผู้ป่วยในบางรายอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ แบคทีเรียเอชไพโลไร ได้มากกว่านั่นเอง
  2. มีการใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) นาโปรเซน (Naproxen) ยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มยาเอ็นเสด (NSAIDs) โดยใช้เป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ที่ใช้ยาในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม หรือมีการใช้ยาชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ยาสเตียรอยด์ (Steroids) ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น เฮพาริน (Heparin) วอร์ฟาริน (Warfarin) ยารักษาโรคซึมเศร้า (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors: SSRIs) เช่น ไซตาโลแพรม (Citalopram) ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine) พาร็อกซีทีน (Paroxetine) เซอร์ทราลีน (Sertraline) ยารักษาโรคกระดูกพรุน เช่น อะเลนโดรเนท (Alendronate) ไรซีโรเนต (Risedronate)
  3. ปัจจัยอื่น ๆ หรือพฤติกรรมที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรค มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดมากจนเกินไป หรืออาจพบในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ผู้ที่มีระดับแคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ

การวินิจฉัยแผลในกระเพาะอาหาร

การวินิจฉัยแผลในกระเพาะอาหาร โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ว่ามีประวัติในการใช้ยาแก้อักเสบในกลุ่มเอ็นสด หรือยาชนิดอื่น ๆ รวมไปถึงการตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีการทดสอบและแนวทางดังนี้

  1. การทดสอบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรหรือไม่ ซึ่งสามารถทำการทดสอบได้หลายแบบ เช่นการทดสอบทางลมหายใจ การทดสอบทางอุจจาระ หรือการทดสอบทางเลือด
  2. การทดสอบเอนไซม์ยูรีเอส (Urease Test) เป็นวิธีที่มีการนำมาใช้ในการทดสอบมากที่สุด ซึ่งในการทดสอบนั้น ผู้ที่เข้ารับการทดสอบ จะต้องหยุดยา Proton Pump Inhibitor: PPI ก่อนการทดสอบ เพื่อให้การทดสอบมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ไม่ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนได้ โดยควรหยุดยาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
  3. การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียจากอุจจาระ (Stool Antigen Test) โดยนำตัวอย่างอุจจาระของผู้ป่วยไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการ
  4. การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียจากเลือด (Blood Test) เพื่อหาสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ต่อเชื้อแบคทีเรีย
  5. การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy) โดยการใส่ท่อขนาดเล็กติดกล้องที่ส่วนปลาย (Endoscope) ผ่านทางช่องปากลงไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น หรืออาจมีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปทดสอบการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรร่วมด้วย
  6. การตรวจกระเพาะอาหารด้วยการกลืนแป้ง (Upper GI Series) ซึ่งเป็นอีกวิธีที่ได้นำมาเป็นการจำลองภาพของระบบทางเดินอาหารด้วยการเอกซเรย์ร่วมกันกับการกลืนของเหลวสีขาว ที่มีส่วนผสมของแบเรียม ทำให้เห็นภาพของแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น ขึ้น

การรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

การรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารเช่น การใช้ยา หรือการผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรง โดยมีวิธีการรักษาดังรายละเอียดดังนี้

  1. การใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) ทินิดาโซล (Tinidazole) เตตราไซคลีน (Tetracycline) ลีโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น ซึ่งในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียอาจจะต้องใช้ยาหลายชนิด โดยมีการรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานประมาณ 10-14 วันหลังสิ้นสุดการใช้ยา ควรกลับมาทำการทดสอบยืนยัน (Confirmation Test) ว่าสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้สำเร็จหรือไม่ ด้วยการทดสอบแบบ Non-Invasive: UBT หรือการตรวจอุจจาระ ซึ่งถือว่าการตรวจมีราคาที่ไม่แพง และมีประสิทธิภาพสูงอีกด้วย
  2. การใช้ยา Proton pump inhibitors: PPIs เช่น โอเมพราโซล (Omeprazole) แลนโซพราโซล (Lansoprazole) ราบีพราโซล (Rabeprazole) อีโซเมปราโซล (Esomeprazole) แพนโทพราโซล (Pantoprazole) เป็นต้น เพื่อเป็นการยับยั้งการสร้างกรดและเป็นการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร หากมีการใช้ยาในปริมาณที่มากและนานจนเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่นปวดศีรษะ ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ รวมไปถึงมีความเสี่ยงต่อกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ อาจเป็นอันตรายได้
  3. การใช้ยา H2-Receptor Antagonists เช่น แรนิทิดีน (Ranitidine) ฟาโมทิดีน (Famotidine) ไซเมทิดีน (Cimetidine) เป็นต้น เพื่อยับยั้งให้เกิดการสร้างกรดและเป็นการรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี
  4. การรักษาโดยการใช้ยาเคลือบกระเพาะอาหาร เช่น ซูคราลเฟต (Sucralfate) ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) เป็นต้น เพื่อป้องกันการทำลายจากกรดของเยื่อบุในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กได้
  5. การรักษาโดยการผ่าตัด มักใช้กับผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารแล้วไม่ได้รับการการรักษา โดยมีอาการคือ มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กเกิดการฉีกขาด เป็นต้น
  6. มีการปรับเปลี่ยนการใช้ยาในผู้ป่วยที่เกิดแผลในกระเพาะอาหารที่มีสาเหตุมาจากการใช้ยาเอ็ดเสด (NSAIDs) โดยเปลี่ยนเป็นพาราเซตามอลหรือยาแก้ปวดเพื่อต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้น้อยกว่า เช่น เซเลโคซิบ (Celecoxib) ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม COX-2 Inhibitor เป็นต้น