น้อยคนนักที่จะมีลักยิ้ม เนื่องจากลักยิ้มจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หากพ่อหรือแม่มีลักยิ้มก็จะทำให้ลูกที่เกิดมามีโอกาสที่จะมีลักยิ้มบนใบหน้าได้ ซึ่งลักยิ้มนั้นถือได้ว่าเป็นลักษณะเด่นบนใบหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้มากถึง 50-100 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งลักยิ้มที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปนั้น หลายคนอาจสงสัยว่าลักยิ้มมีกี่แบบ โดยลักษณะของลักยิ้มนั้นจะมีลักษณะ 2 แบบด้วยกัน คือ ลักยิ้มแบบรอยบุ๋ม และ ลักยิ้มแบบแนวยาวประมาณครึ่งเซ็นติเมตรโดยลักษณะในลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยรอบของทั้ง 4 ด้านของใบหน้าเรา อย่างคนบางคนจะมีลักยิ้มอยู่มุมบน หรือบางคนก็อยู่มุมล่าง บางก็อาจจะมีลักยิ้มข้างเดียว บางก็มีลักยิ้มทั้ง 2 ข้าง
การเกิดของลักยิ้มนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง
ลักยิ้มเกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังที่อยู่ในช่วงพัฒนาของตัวอ่อน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อบนในหน้าบริเวณนั้นสั้นกว่าคนปกติทั่วไป ดังนั้นเมื่อเวลาที่ยิ้มจึงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณจุดนี้ ถูกดึงจนทำให้เกิดเป็นรอยบุ๋มเล็กๆ ขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อว่าลักยิ้มเกิดขึ้นจากความผิดปกติของโครงสร้างกล้ามเนื้อบนในหน้าที่มีชื่อเรียกว่า กล้ามเนื้อไซโกมาติคัส เมเจอร์ (Zygomatic major) ซึ่งกล้ามเนื้อชนิดนี้จะอยู่บริเวณบนโหนกแก้มลงมาถึงมุมปากด้านบน โดยกล้ามเนื้อชนิดนี้จะมีหน้าที่ในการยกมุมปากของเราในขณะที่เรายิ้ม โดยปกติทั่วไปแล้ว กล้ามเนื้อส่วนนี้จะมีเพียงแค่ 1 แฉกเท่านั้น แต่เมื่อมันเกิดความผิดปกติ มันจะแยกกันออกเป็น 2 แฉก ส่งผลให้บริเวณที่มันแยกออกจากนั้นจึงบุ๋มลงไปแล้วกลายเป็นลักยิ้มนั่นเอง
ลักษณะของ “ลักยิ้ม”
โดยทั่วไปแล้ว ลักยิ้มจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบจุด ลักษณะจะเป็นเพียงรอยบุ๋มลงไปเล็ก ๆ เท่านั้น และแบบขีด ลักษณะจะเป็นแนวยาวในแนวดิ่ง อาจจะยาวประมาณครึ่งเซนติเมตร สำหรับท่านที่ต้องการทำลักยิ้มจะต้องแจ้งแพทย์ให้ชัดเจนว่าอยากได้ลักยิ้มแบบใด ซึ่งก็ขึ้นกับความชอบของแต่ละบุคคล แพทย์ก็จะผ่าตัดให้ตามที่ต้องการ
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ก่อนเข้ารับบริการผู้เข้ารับบริการต้องเตรียมตำแหน่งที่ต้องการทำลักยิ้มบริเวณแก้ม
- ก่อนเข้ารับการผ่าตัดผู้เข้ารับบริการต้องล้างหน้า แปรงฟันให้สะอาด
- รับประทานอาหารให้เรียบร้อยแต่ควรงดอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เพราะอาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้งแพทย์
- ก่อนเข้ารับบริการอย่างน้อย 2 สัปดาห์ต้องงดยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่น แอสไพรินอาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด รวมทั้งบุหรี่
- ก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 3 – 5 วัน หากรับประทานสมุนไพรบางชนิดเช่น อีฟนิ่งพริมโรส ยาวิตามินอี ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพร
ตำแหน่งที่ควรทำลักยิ้มตำแหน่งไหนดีที่สุด
สำหรับการทำลักยิ้มนั้นสามารถทำได้หลายตำแหน่ง อยู่ที่ความต้องการและความพอใจของแต่ละคน โดยทั่วไปแล้วลักยิ้มมักจะอยู่ใกล้กับเส้นขนานมุมปาก ตัดกับ Mid Pupil กึ่งกลางของตาดำ หากต้องการให้เปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ผู้เข้ารับบริการสามารถแจ้งให้แพทย์ทราบได้
ขั้นตอนการผ่าตัดทําลักยิ้มมีอะไรบ้าง
- ก่อนผ่าตัดทำลักยิ้มนั้นจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อสื่อสารรูปแบบของลักยิ้มที่ต้องการและเหมาะสมกับใบหน้า จากนั้นแพทย์จะวาดตำแหน่งและขนาดลักยิ้มที่จะทำ
- แพทย์จะทำการฉีดยาชาตรงจุดที่จะสร้างลักยิ้ม จากนั้นแพทย์จะเปิดแผลที่กระพุ้งแก้มด้านในที่ตำแหน่งของลักยิ้มที่ต้องการ
- แพทย์จะตัดกล้ามเนื้อของผู้เข้ารับบริการบางส่วนจากภายในกระพุ้งแก้ม แล้วจึงเย็บกล้ามเนื้อส่วนที่เหลือเข้ากับผิวหนังของแก้มให้ติดต่อกัน ระหว่ากล้ามเนื้อและผิวหนัง จึงเกิดเป็นรอยบุ๋มตำแหน่งที่ต้องการ
- หลังจากนั้นแพทย์จะทำการเย็บปิดแผลภายในกระพุ้งแก้ม ด้วยไหมละลาย
ปฏิบัติตัวอย่างไรหลังจากทำลักยิ้ม
- หลังผ่าตัดช่วง 3-5 วันแรกอาจมีอาการบวมให้ประคบเย็นเป็นเวลา 2 วันและให้นอนยกศีรษะสูงในช่วง 2 วันแรก
- หลังผ่าตัดวันแรกควรทานอาหารเหลว จากนั้นวันที่ 2-3 ให้ทานอาหารอ่อนได้ และห้ามทานอาหารรสจัด 2-3 สัปดาห์หรือจนกว่าแผลจะหายสนิท
- แผลผ่าตัดภายในปากจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะหายเป็นปกติ ควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนต่อแผลผ่าตัดเนื่องจากอาจเกิดการอักเสบหรือแผลแยกได้
- ช่วงแรก จะเกิดลักยิ้มบุ๋มตลอดเวลา แม้จะไม่ได้ยิ้มก็ตาม สามารถใช้พลาสเตอร์สีเนื้อปิดบริเวณที่ทำลักยิ้มได้ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1-3 เดือน พังผืดจะมีการคลายตัวและจะเกิดรอยบุ๋มขึ้นเวลายิ้ม
- ควรทานยาขี้ผึ้งที่แพทย์จัดให้ ตรงบริเวณรอยบุ๋มลักยิ้ม และทานยาที่แพทย์สั่ง