ลมในกระเพาะ

เกิดลมในกระเพาะ

ผู้ที่ปัญหาเกี่ยวกับมีความผิดปกติจากการทำงานของกระเพาะอาหาร อาจเกิดความวิตกกังวลใจเป็นอย่างมาก ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเกิดความวิตกเป็นอย่างมาก ซึ่งมักมีอาการที่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ส่งผลให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก มีภาวะที่ท้องเกิดอาการแน่น มีลมในผ่าตัดกระเพาะ ทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัวได้ หากมีอาการลักษณะนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้

ลมในกระเพาะ สาเหตุเกิดจากอะไร

สาเหตุหลักที่มีผลต่อการเกิดลมในกระเพาะนั่นก็คือ เกิดจากพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ รองลงมาคือ โรคของระบบทางเดินอาหาร ที่เกิดจากการทานยาบางชนิด การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน  เป็นต้น ซึ่งอาหารบางชนิดก็เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดลมในกระเพาะอาหารได้ โดยอหารเหล่านี้คือ อาหารที่มีไขมันสูง นม เนย ช็อกโกแลต หรืออาหารที่ย่อยยาก เช่นเนื้อสัตว์ อาหารที่มีรสจัด หรือว่าเปรี้ยวจัด หรือเผ็ดมากจนเกินไป หรือเกิดจากการรับประทานอาหารดังต่อไปนี้

  • การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแก๊สมากหรืออาหารที่ก่อให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่ว บล็อกโคลี น้ำอัดลม
  • การจาการกลืนอากาศเข้าไปในปริมาณที่มากจนเกินไป เช่นการอ้าปาก พูดคุย หรือหัวเราะเป็นเวลานาน
  • การรับประทานยาหรือเกิดจากการทานอาหารเสริมหลาย ๆ ชนิด
  • มีอาการท้องผูก เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหนึ่งของอาการท้องอืดที่พบได้บ่อยมาก แต่จะไม่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ในร่างกายโดยเฉพาะเพศหญิง ซึ่งมักจะเกิดอาการภาวะท้องอืดก่อนมีประจำเดือนได้
  • เกิดจากความอ่อนแอของผนังช่องท้อง ที่อาจเกิดจากการผ่าตัดคลอดบุตร สามารถก่อให้เกิดอาการท้องอืดได้ มักพบกับคุณแม่ที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรได้เช่นกัน

การวินิจฉัยอาการลมในกระเพาะ

ก่อนอื่นแพทย์จะทำการซักประวัติในการรักษา โดยเริ่มจากการรับประทานอาหารในแต่ละวัน ยาที่ใช้ ปัญหาสุขภาพ หรือสอบถามอาการอื่น  ๆ ที่มีร่วมด้วยกับอาการลมในกระเพาะ หลังจากนั้นแพทย์จะทำการตรวจบริเวณช่องท้องว่ามีอาการบวม หรือมีการอย่างไรบ้าง  อาจมีการฟังเสียงการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และใช้มือกดบริเวณช่องท้อง เพื่อเป็นการทดสอบความแข็งและอาการเจ็บปวดบริเวณช่องท้องได้ หลังจากนั้นหากแพทย์ต้องการทราบเกี่ยวกับอาการมากยิ่งขึ้น ก็จะสั่งให้มีการตรวจอื่น ๆ เช่น

  1. แพทย์จะให้ผู้ป่วยทำการจดบรรทุกอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อของทุก ๆ วัน ว่ารับประทานอาหารอะไรไปบ้าง และการจดบันทึกช่วงเวลาที่เกิดอาการลมในกระเพาะอาหาร เพื่อจะได้วินิจฉัยว่าเกิดจากสาเหตุใด
  2. การตรวจลำไส้ใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วยที่มีประวัติอยู่ในครอบครัวที่มีประวัติผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้ เพราะสามารถทำให้แพทย์ได้เห็นภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมด ในเรื่องของการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ หรือมีก้อนเนื้อ หรือเนื้อเยื่ออักเสบ มีอาการเลือดออก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหารได้ โดยแพทย์จะทำการสอดกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เพื่อจะได้ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้
  3. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก แพทย์จะทำการสอดกล้องเข้าไปในลำไส้ผ่านทางช่องทวารหนักเพื่อดูลักษณะของลำไส้ใหญ่ โดยใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก และเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจเพื่อหาวิธีในการรักษาต่อไป
  4. การกลืนแบเรียม (Barium Swallow) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถตรวจเช็คความผิดปกติของบริเวณช่องท้อง โดยเมื่อกลืนสารแบเรียมเข้าไปแล้ว แพทย์จะนำผู้ป่วยเข้าเครื่องตรวจเอกซเรย์ เมื่อทราบผลตรวจแล้ว จะช่วยทำให้เห็นภาพรวมของระบบการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี และวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรคและนำไปสู่ขั้นตอนการรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไป
  5. การเกิดลมในกระเพาะที่อาจเกิดจากการตั้งครรภ์ อาจเกิดจากการสันนิษฐานของแพทย์ ก็จะสั่งตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือด เพื่อระบุว่ามีอาการของการตั้งครรภ์หรือไม่

อาการลมในกระเพาะ

อาการส่วนใหญ่ที่มักพบได้กับผู้ที่มีอาการท้องอืด จะรู้สึกไม่สบายท้อง เกิดอาการแน่นท้อง นอกจากนี้ยังมีอาการปวดร่วมด้วย และมีลมในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการเรอหรือผายลมอยู่บ่อยครั้ง หรืออาจได้ยินเสียงดังภายในท้องเป็นระยะ และส่งผลให้มีอาการปวดท้องร่วมได้อีกด้วย หรือในบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น อาเจียนไม่หยุด หรืออุจจาระเป็นเลือด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการรักษา เพราะอาจส่งสัญญาณของการเกิดโรคที่มีความรุนแรงขึ้นได้

การรักษาอาการลมในกระเพาะ  ด้วยตนเองที่บ้าน

ผู้ป่วยสามารถรักษาอาการลมในกระเพาะได้ด้วยตนเองที่บ้านได้หากไม่มีอาการที่พบรุนแรงมากจนเกินไป ดังวิธีต่อไปนี้

  1. รับประทานอาหารให้น้อยลง โดยพยายามกินอาหารเฉพาะมือหลักเท่านั้น เป็นการการช่วยให้การทำงานกระบวนการย่อยอาหารไม่ทำงานหนักจนเกินไป และทำให้ระบบการย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. ควรรับประทานอาหารที่มีการย่อยง่าย เพราะจะไม่ได้ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติมากจนเกินไป หรืออาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการลมในกระเพาะได้
  3. ควรรับประทานอาหารโดยมีการเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
  4. งดการสูบบุหรี่และไม่ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือหลีกเลี่ยงอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วทำให้ท้องอืดได้
  5. รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร หลังจากมีอาการ
  6. ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน เพราะการออกกำลังกายจะช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารได้และป้องกันการเกิดอาการท้องอืดได้ดีเลยทีเดียว

ภาวะแทรกซ้อนของอาการลมในกระเพาะ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้สำหรับผู้ที่เกิดอาการลมในกระเพาะ นั่นก็คือ มีอาการเรอ หรือท้องมีเสียงดังโครกคราก นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการผายลมเกิดขึ้นอีกด้วย มีความอยากอาหารลดลง มีอาการอาหารไม่ย่อยได้อีกด้วย หรืออาการลมในกระเพาะอาจเกิดจากความผิดปกติของโรคซ้อนอยู่ก็เป็นได้ อาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงมากขึ้นได้ เช่นอาการหัวใจวาย

การป้องกันอาการท้องอืด

การป้องกันอาการท้องอืดนั้น สามารถทำได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เสี่ยงให้เกิดอาการลมในกระเพาะ หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปมากจนเกินไป หากเกิดจากการรับประทานอาหารมากจนเกินไป ควรลดปริมาณลง เพื่อให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ปกติ และควรสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ และควรรีบปรึกษาแพทย์ทันว่าที่พบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าว